วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

5.ยาต้านโรคจิต (Antipsychotic  drugs)

โรคจิต (psychosis) คือ โรคที่ผู้ป่วยไม่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง โรคจิตที่พบบ่อยคือ โรคจิตเภท
            โรคจิตเภท(schizopherenia) มีอาการทางคลินิก คือ มองโลกผิดไปจากความเป็นจริง ประสาทหลอน(hallucination ที่พบบ่อย คือ หูแว่ว) หลงผิด(delution) ความคิดผิดปกติ ไม่สามารถคิดได้อย่างมีเหตุผลทำให้สื่อสารกับผู้อื่นไม่ได้ แยกตัวออกจากสังคม การแสดงอารมณ์ไม่เหมาะสม และมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
            ทฤษฏีของ schizophrenia
1.     กรรมพันธุ์
2.     ความผิดปกติของ neurotransmitters โดยเฉพาะ Dopamine hypothesis                                                                      
            Dopamine hypothesis กล่าวว่า schizophrenia เกิดจากการที่มี dopaminergic  neurotransmission มากเกินไปในสมอง
3.     ความผิดปกติทางกายวิภาคและการทำงานของสมอง

อาการโรคจิต

อาการบวก(Positive  symptom)
อาการลบ(Negative  symptom)
           กระวนกระวาย อยู่นิ่งไม่ได้(agitation)
           - หลงผิด มีความเชื่อผิด(delution)
           - ประสาทหลอน(hallucination)
           - พูดจาผิดปกติ  ไม่เป็นเรื่องเป็นราว
           ความคิดผิดปกติ เป็นเรื่องราว
           นอนไม่หลับ( insomnia)

           - นิ่งเฉย(apathy)
           อารมณ์นิ่ง ไม่มีการแสดงอารมณ์
           ไม่มีความเพลิดเพลิน
           ไม่มีแรงกระตุ้นหรือแรงบันดาลใจ
           พูดน้อย(alogia)
           แยกตัวออกจากสังคม(social isolation)
Antipsychotic Drugs  แบ่งตามโครงสร้าง
-         Phenthiazides : Chlopromazine, Thioridazine,Fluphenazine
-         Thionxanthine : Thiothixene
-         Butyrophenones : Haloperidol
-         Pimozide, Clozapine, Risperidone

   ยาต้านโรคจิตออกฤทธิ์ปิดกั้น receptor หลายชนิด
-         Dopaminergic rc.
-         Serotoninergic  rc.
-         Muscarrinic  rc.
-         Adrenergic  rc.
-         Histaminergic  rc.
            แต่ฤทธิ์ในการต้านโรคจิตเกิดจากการปิดกั้น Dopamine D2 rc.   และ   5-HT 2 receptor
-         ยาต้านโรคจิต ผ่านเข้าสมองได้ดี กระจายตัวในร่างกายดีและถูกกำจัดโดยการผ่านเมทาบอลิซึมโดยเอนไซม์ P450 ที่ตับ
-         ยาต้านโรคจิตใช้เป็นเวลานานกว่าจะเห็นผลการต้านโรคจิต แต่ผลข้างเคียงของยาเกิดเร็ว
-         ยารักษาโรคจิตไม่สามารถรักษาโรคจิตให้หายขาดได้แต่จะช่วยลดอาการ
-         อาการข้างเคียงทาง EPS เกิดจากการที่ยาไป block D2 rc.  ที่ dopaminergic  pathway อื่นๆ

การจำแนกยาต้านโรคจิต ตามโครงสร้างทางเคมี
ยาต้านโรคจิตกลุ่ม Typical แบ่งตามความแรง(potency)หรือความสามารถในการจับ(affinity) กับ D2 receptor ดังนี้
-         ยาที่มีความแรงสูง(high potency) เช่น fluphenazine
-         ยาที่มีความแรงต่ำ(Low potency) เช่น chropromazine

-         ยาต้านโรคจิตกลุ่ม typical 

มีความแรง(protency)ต่างกันในการปิดกั้น D2 rc. แต่มีความสามารถสูง(efficacy) เท่ากัน
กลไกการออกฤทธิ์ ฤทธิ์ต้านโรคจิตเกิดจากการปิดกั้น Dopamine D2 rc. ใน mesolimbic  system และ mesocortical system
ประโยชน์ในการรักษา
-         ใช้รักษาโรคจิตเภท ยาใช้ได้ผลดีในระยะเฉียบพลันซึ่งมีอาการบวมเด่น เช่น มีความเชื่อผิดๆหรือหลงผิด(delution)หูแว่ว(auditory hallucination)
-         รักษาภาวะโรคจิต(psychotic state)วุ่นวาย(agitation)หรือคลั่ง(mania) เช่น ในผู้ป่วย bipolar  disorder
-         ใช้ haloperidol  รักษาโรคจิตเวชอื่นๆ เช่น Huntington’s  diseas และ ภาวะพิษจาการได้รับ phencyclidine  เกินขนาด
-         ใช้เป็นยาคลื่นไส้อาเจียน ฤทธิ์แก้คลื่นไส้อาเจียนมีในยากลุ่ม phenothiazide(ยกเว้น thioridazine)
-         ใช้ในการสลบก่อนผ่าตัด
-         ใช้รักษาอาการคัน
-         ใช้รักษาอาการสะอึก( intractable  hiccups) ที่การรักษาอย่างอื่นไม่ได้ผล ใช้ chlorpromazine
ผลข้างเคียง
-         ที่เกิดจากการปิดกั้น H1-rc. ทำให้ง่วง
-         ที่เกิดจากการปิดกั้น α1-rc. ทำให้ความดันเลือดต่ำ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศชาย การหลั่งอสุจิผิดปกติ
-         ที่เกิดจากการปิดกั้น M3  rc. ทำให้ตาแห้ง  ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง  ท้องผูก ตาพร่า
-         Neuroleptic malignant  syndrome มีอาการกล้ามเนื้อแข็ง(muscle  rigidity)ไข้สูงมากความดันเลือดสูง  หัวใจเต้นผิดจังหวะ และภาวะจิตใจเปลี่ยนแปลง

      จาการปิดกั้น  Dopamine D1 และ D2 rc ทำให้เกิดอาการข้างเคียงทางระบบประสาทที่เรียกว่า Extrapyramidal symptom (EPS) ได้แก่
-         Acute dystonia คอแข็ง  ลิ้นแข็ง กล้ามเนื้อแข็ง ภาวะนี้รักษาโดยการใช้ยา anticholinergi เช่น diphenhydramine หรือ  trihexyphyphenidyl (Artane)
-         Akinesia เดินก้าวสั้น  แกว่งแขวนน้อย เริ่มเคลื่อนไหวลำบาก  เช่น  เริ่มลุกจากเก้าอี้
-         Parkinsonian  syndrome มีอาการคล้ายโรค Parkinson เช่น สั่น กล้ามเนื้อแข็งแรงเกร็งและเคลื่อนไหวช้า  หน้าไม่ยิ้มหรือแสดงความรู้สึกเหมือนใส่หน้ากาก ( mask-like face )
-         Akathisia  อยู่นิ่งไม่ได้  ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา เดินไปมา  ผุดลุกผุดนั่งตลอดเวลา
-         Tardive dyskinesia  เกิดภายหลังได้รับยาในระยะยาว (4 เดือนถึง1ปี) พบได้ 20-40%ของผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม typical ถ้าตรวจพบควรรีบหยุดยาทันที อาการอาจหายไปเมื่อหยุดยาหรืออาจเป็นถาวรก็ได้

ยาต้านโรคจิตกลุ่ม atypical

กลไกและผล  ฤทธิ์การต้านโรคจิตเกิดจากการปิดกั้น rc. อื่นในสมองที่ไม่ใช่ D2 rc. เช่น 5-HT2A,D4 และ a receptor ดังนั้นยากลุ่มนี้จะมีอาการทาง EPS น้อยกว่ากลุ่ม typical
จำแนกยาตามความสามารถในการจับ affinity กับ D2 rc. fy’ouh
·         ยาที่มีความแรงต่ำ เช่นquetiapine
·         ยาที่มีความแรงปานกลาง เช่น clozapine
·         ยาที่มีความแรงสูง เช่น olanzapine , risperidol , pimozide
ประโยชน์ในการรักษา เชื่อว่าดีกว่ายากลุ่ม typical เพราะมีผลข้างเคียงน้อยกว่า และรักษาอาการลบดีกว่า ใช้รักษาโรคต่อไปนี้
-         โรคจิตเภท
-         โรคอารมแปรปรวน
-         ภาวะโรคจิต
ผลข้างเคียง
-         ระดับในกลูโคสในเลือด
-         ยา clozapine อาจทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำ
-         อาจทำให้ชัก
-         ความดันเลือดต่ำ
-         น้ำหนักตัวเพิ่ม
-         ง่วง
-         ท้องผูก


ยาคล้ายเศร้า(antidepressants ) และ mood  stabilizer

            โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางอารมณ์ มีอาการณ์ซึมเศร้าอย่างมาก ไม่สนใจต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวัน  นอนไม่หลับ  เบื่ออาหารหรือกินอาหารมาก รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า
             Antidepressent  drugs  แบ่งได้ดังนี้
-         กลุ่มยาที่เพิ่มระดับ cathecholamine(increase  cathecholamine  level) ได้แก่
            Tricyclic  antidepressant : Tertiary amine : Imipramine, Amitriptyline
            Secondary amine : Desipramine, Nortriptyline
            MAOIS : Phenelzine, Tranylcypromine
-         กลุ่ม Serotonin reuptake inhibitor :ได้แก่
            Fluoxetine, Sertraline, Paraoxetine, Bupropion, Venlafaxine
            Tricyclic  antidepressant
-         การให้ผลในการรักษาต้องใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะเห็นผล
ผลข้างเคียง
-         ปากแห้ง  ตามัว มองไม่ชัด  มีการคั่งของปัสสาวะ  ท้องผูก  ซึ่งจะเห็นผลข้างเคียงได้ในเวลา 2 สัปดาห์หลังกินยา
-         หัวใจเต้นช้า  ความดันโลหิตเปลี่ยนขณะเปลี่ยนท่า
-         ซึม  สับสน  กระสับกระส่าย
-         มีผื่นขึ้น  น้ำหนักลด
-         ความต้องการทางเพศลดลง
พิษจากยา
-         กดการหายใจ
-         ซึม  สับสน  กระสับกระส่าย
-         Hyperpyrexia
-         หัวใจเต้นผิดจังหวะ  ความดันโลหิตต่ำ
ข้อควรระวัง  หลีกเลี่ยงการใช้ใน
-         ผู้ป่วยโรคต้อหิน
-         ผู้ป่วยโรคหัวใจ
-         หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร

         ยากลุ่ม MAO inhibitors (MAIOs)
-         ยาออกฤทธิ์โดยยับยั้งเอนไซม์ monoamine  oxidase (MAO) จึงส่งผลให้เพิ่มระดับ amine ใน Synapses
-         ยาให้ผลในการรักษาในช่วง 2-3 WRS. ขึ้นไป
-         ใช้รักษาอาการซึมเศร้า กลัว และวิตกกังวล

        Mood  stabilizer

            Mood  stabilizer  คือ ยาที่สามารถลดได้ทั้งอาการคลั่งและอาการซึมเศร้า ทำให้อารมณ์ไม่แกว่งในป่วยโรค bipolar  disorder ยานี้ได้แก่  Lithium carbonate
กลไกและผล
-         ยับยั้งการสังเคราะห์ inositol จาก IP1 ส่งผลให้ IP3 และ DAG น้อยลง
-         ยับยั้ง adenolate cyclase ทำให้ลดการสังเคราะห์ Camp
-         ยับยั้งการทำงานร่วมกันระหว่าง receptor และ G protein
ประโยชน์ในการรักษา
-         ใช้เป็นยากิน  รักษาหรือป้องกันอาการบ้าคลั่ง(mania)ในผู้ป่วย bipolar
-         ใช้รักษาอาการโรคจิตที่มีการคลั่งร่วมด้วย
-         ใช้รักษาภาวะอาการซึมเศร้า(ใช้เป็นยาร่วม)
-         Lithium  carbonate มี therapeutic  index แคบ ดังนั้นจึงต้องมีการวัดระดับในเลือดอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียง
เภสัชจลนศาสตร์  ยาดูดซึมได้ดีในทางเดินอาหาร  ถูกขับออกทางปัสสาวะ  มีการดูดกลับที่ไต  โดยแย่งจับกับ NA+channel  ดังนั้นถ้ามี NA มากในปัสสาวะ ทำให้ดูดกลับ Lithium น้อยลง  ยาไม่จับกับโปรตีนในพลาสมา  ขนาดยาที่ให้ผลในการรักษา คือ 0.9 -1.4 mEq/L
ผลข้างเคียง
-         คลื่นไส้  อาเจียน  เป็นอาการแรกของภาวะพิษ
-         หัวใจเต้นช้าและเต้นผิดจังหวะ
-         Goiter, Hypothyroidism
-         Nystagmus, Lethargy
-         สับสนและชักได้


อ้างอิง :
อาจารย์ นุชนาท ประมาคะเต   ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง  
เอกสารประกอบการสอน รายวิชา เภสัชสำหรับการพยาบาล  
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น