วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556


3. ยาต้านพาร์กินสัน(Antiparkinsonosm  Drugs)



  โรคพาร์กินสันส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ มีอาการ คือ
-         tremor at rest สั่นขณะพัก การสั่นน้อยลงเมื่อเริ่มมีการเคลื่อนไหว
-         muscle rigidity กล้ามเนื้อแข็ง
-         hypokinesis หรือ akinesis

     สาเหตุของโรคพาร์กินสัน เช่น สารพิษ ยาที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรค เช่น ยาต้านโรคจิตซึ่งปิดกั้น dopamine rc. หรือไม่ทราบสาเหตุ
Extrapyramidal motor system ประกอบด้วย
-         Direct pathway
-         Indirect  pathway ในโรค Parkinson กระแสประสาท dopaminergic จาก subatantia nigra เสียทำให้  direct pathway ทำงานน้อยลงแต่ indirect  pathway ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (เกิดการเสียสมดุลคือ direct<indirect) direct  => เกิดการกระตุ้นที่ thalamus น้อย => กระแสประสาทที่ไปกระตุ้น motor  cortex น้อย  =>  ลดกระแสประสาทใน corticospinal tract  => เกิดการเคลื่อนไหวช้า(bradykinesia) หรือน้อย(hypokinesia)
          

Levodopa และ Carbidopa

กลไกและผล
     Levodopa(L-dopa) เป็นสารที่ใช้ในการสังเคราะห์ dopamine ในสมอง โดย Levodopa สามารถผ่าน BBB ได้ (dopamine ผ่านไม่ได้)เมื่อ Levodopa ผ่านเข้าสู่สมองส่วน neostriatum จะถูก decarboxylate ให้เป็น dopamine ทำให้ระดับ dopamine ในระบบ nigrostrital  มากขึ้น

การ Matabolism
     Levodopa ที่อยู่นอกสมองและในเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น ลำไส้ จะถูกเมทาบอลิซึม aromatic L-amino acid decarboxylase(AAD) ซึ่งเปลี่ยน levodopa ไปเป็น dopamine ทำให้ levodopa  เข้าสู่สมองน้อยลง ดังนั้น เพื่อลดขนาดของ levodopa ลงจึงใช้ยานี้ร่วมกับ carbidopa(AAD inhibitor)(carbidopa ไม่เข้าสมอง)

ประโยชน์ในการรักษา
-         เป็นยาเลือกตัวแรกสำหรับรักษาโรค Parkinson โดยใช้เป็นยาผสม คือ levodop+carbidopa(Sinemet) โดยผสมยานี้จะมีประสิทธิ์ภาพในการเคลื่อนไหวช้าและกล้ามเนื้อแข็งแรง
-         ข้อจำกัดในการรักษาทำให้อาการทุเลาลงแต่ไม่หาย เพราะยาไม่ได้ลดการตายของเซลล์ประสาทใน substantia nigra  การให้เพียงเพื่อช่วยให้เซลล์ประสาทที่เหลืออยู่ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผลข้างเคียง
-         ความดันเลือดต่ำ โดยไม่ทราบสาเหตุ หรือความดันสูง เมื่อใช้ยาในขนาดสูง
-         หัวใจเต้นผิดจังหวะ
-         Extrapyramidal  symptom (EPS) เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ(dyskinesia) ที่มากเกินไปโดยไม่สามารถควบคุมได้
-         ผลต่อจิตใจ อาจเกิดความกังวล กระสับกระส่าย สับสน
-         ผลต่อทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน

ปฏิกิริยาระหว่างยา
-         ถ้าให้ levodopa ร่วมกับ MAO inhibitor อาจเกิดความดันสูงวิกฤตได้
-         Pyridoxin (วิตามินบี 6 ) เพิ่มเมทาบอลิซึม ของ levodopa นอกสมองทำให้ผลการรักษาน้อยลง


Selegilline

กลไกและผล
-         ยับยั้งเอนไซม์ MAO-B ในสมองทำให้เพิ่มกระแสประสาท dopaminergic ใน neostriatum
-         Neuroprotection เชื่อว่าลดการตายของเซลล์ประสาทโดยมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน

ประโยชน์ในการรักษา
-         ใช้เป็นยาเริ่มต้นในการรักษาโรคพาร์กินสันที่ไม่รุนแรง และป้องกันการดำเนินของโรค(ลดการตายของเซลล์)

ปฏิกิริยาระหว่างยา   อาจเกิดความดันเลือดสูงวิกฤติได้ ถ้าใช้ร่วมกับ levodopa
ผลข้างเคียง กังวล นอนไม่หลับ

Bromocriptine

กลไกและผล ยาเป็น dopamine D2 receptor  agonist ที่ทำให้เกิดผลคือ
-         กระตุ้น D2 receptor ใน striatum ทำให้ลดอาการของโรคพาร์กินสัน
-         กระตุ้น D2 receptor ในต่อม pituitary ทำให้ลดการหลั่ง prolactic

ประโยชน์ในการรักษา
-         รักษาโรคพาร์กินสัน โดยเป็นยาทางเลือกอันดับแรก อาจใช้เดี่ยวหรือร่วมกับ levodopa มีประสิทธิ์ภาพดีในการลด bradykinesa และ rigidity
-         รักษาภาวะ prolactin ในเลือดสูง

ผลข้างเคียง
-         ความดันเลือดต่ำ
-         หัวใจเต้นผิดจังหวะ
-         อาการทาง EPS เช่น dykinesia
-         ผลต่อจิตใจ เช่น สับสน ประสาทหลอน หลงผิด
-         คลื่นไส้ อาเจียน

   ยาที่ใช้ในโรคความจำเสื่อม (Alzheimer’s  disease)
            โรค Alzheimer’s   เป็นโรคความจำเสื่อมที่เกิดขึ้น ไม่ทราบสาเหตุและไม่มีการรักษาให้หายขาด พบว่ามีการตายของเซลล์ประสาท cholinergic ในสมองส่วน cortex และ limbic system
   การรักษาด้วยยา

          ยายับยั้งเอนไซม์ cholinesterase ในสมอง เช่น donepezill, tacrine, rivastigmine ซึ่งเพิ่ม acetylcholine ในสมอง ทำให้อาการความจำเสื่อมทุเลา แต่ยาไม่มีผลต่อการดำเนินของโรค

อ้างอิง :
อาจารย์ นุชนาท ประมาคะเต   ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง  
เอกสารประกอบการสอน รายวิชา เภสัชสำหรับการพยาบาล  
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น