2.ยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง(CNS
stimulants)
ยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง
คือ ยาที่เพิ่มการทำงานของระบบประสาทการสั่งงาน ( สูงขึ้น motor activity) ทำให้รู้สึกตื่นเต้นและลดอาการเหนื่อยล้า ( ต่ำลง fatique)
กลไก
-
เพิ่มการหลั่ง cthecolamine
จากปลายประสาท
-
ยับยั้งเอนไซม์ monoamine
oxidase (MAO)
-
เปลี่ยนเส้นทางการขนส่งสารสื่อปะสาท
ผลทางเภสัชวิทยา
-
กระตุ้นระบบประสารทส่วนกลาง
-
กระตุ้นระบบ sympathetic
ส่วนปลายทำให้หัวใจเต้นเร็วและความดันเลือดเพิ่มขึ้น
ประโยชน์ในการรักษา
-
ถือเป็นยาควบคุมพิเศษ จึงใช้ในทางคลินิกน้อยมาก
-
ใช้เป็นยารักษา narcolepsy(โรคนอนหลับผิดปกติ)
-
ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น
-
ใช้รักษาโรคอ้วน
ผลข้างเคียง
-
จากการกระตุ้นสมองทำให้กระสับกระส่าย
อยู่นิ่งไม่ได้
-
จากการกระตุ้นระบบหัวใจและหลอดเลือด
ทำให้ความดันสูง
-
ผลต่อระบบประสารทอัตโนมัติ
ทำให้เกิดอาการหนาวสั่น รูม่านตาขยาย เหงื่อออกมาก
-
รบกวนระบบทางเดินอาหารทำให้เบื่ออาหาร ปวดท้อง
-
เกิดอาการถอนยา มีอาการถอนยาเมื่อหยุดยาอย่างรวดเร็ว
มีอากาซึมเศร้า มึนเวียนศีรษะ เพิ่มความอยากอาหาร นอนมาก หัวใจเต้นช้า
ข้อห้ามใช้
-
ห้ามใช้ในยากลุ่ม Amphetamine ร่วมกับยายับยั้งเอนไซม์ MAO
-
ยาที่ใช้รักษาพิษจาก Amphetamine เกินขนาด คือ Chlopromazine
ยากลุ่ม Methylanthines
ยากลุ่มนี้ได้แก่
Caffeine
, Theobromine
กลไกการออกฤทธิ์
-
ยับยั้งเอนไซม์ phosphodiasterase
ทำให้เพิ่ม cGMP และ cGMPในเซลล์
-
ปิดกั้น adenosine
receptor
ผลทางเภสัชวิทยา
-
ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง
ทำให้รู้สึกตื่นตัว กระฉับกระเฉง
-
ผลต่อหัวใจและหลอดเลือด
เพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
-
ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว
เช่น หลอดลมขยายตัว
-
เพิ่มการขับปัสสาวะอย่างอ่อน
-
กระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาอาหาร
พิษจาก
Caffeine
-
ขนาดต่ำอาจทำให้นอนไม่หลับ
กระสับกระส่าย
-
ในขนาดสูง
อาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ชักและหัวใจเต้นผิดจังหวะ
-
ผ่านรกและขับออกทางน้ำนม
ทำให้เกิดพิษต่อทารก
Cocaine
กลไก
ปิดกั้น Uptake 1 ทำให้มี
norepinephine และ dopamine
มากขึ้นใน syneptic cleft
ผลทางเภสัชวิทยา
-
ต่อระบบประสาท กระสับกระส่าย
มือสั่น เดินเซ ลดความรู้สึกเหนื่อยล้า อารมณ์ดีมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ตื่นตัว
หวาดระแวง
-
ต่อหัวใจและหลอดเลือด
ความดันเลือดสูง หัวใจเต้นเร็ว
-
อาการถอนยา เช่น
อ่อนเพลีย ซึมเศร้า ฝันร้าย
Nicotine
กลไกการออกฤทธิ์
กระตุ้น nicotine
receptor ทั้งใน neuronal nicotine receptor และ
skeletal muscle ทำให้เกิด depolarization
ผลทางเภสัชวิทยา
-
ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
ในขนาดต่ำทำให้รู้สึกตัว
ผ่อนคลาย ขนาดสูงกดการทำงานของก้านสมอง ทำให้กดการหายใจ
-
ต่อระบบประสาทอัตโนมัติ
ขนาดต่ำจะกระตุ้นปมประสาทอัตโนมัติ ทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น
และหลอดเลือดส่วนปลายหดตัวขนาดสูงจะยับยั้งปมประสาททำให้ความดันเลือดต่ำ
เภสัชจลนศาสตร์
-
ละลายได้ดีในไขมัน
ถูกดูดซึมได้ดีทั้งทางเยื่อบุช่องปาก ทางการหายใจและผิวหนัง
-
ผ่านรกได้และขับออกทางน้ำนม
-
ในบุหรี่ 1
มวนมี nicotine ประมาณ 6-8 มิลลิกรัม มากกว่า 90% ถูกดูดซึมเมื่อได้รับโดยการสูดหายใจ
การใช้ในทางคลินิก
ในขนาดต่ำใช้เป็นส่วนผสมแผ่นแปะที่ผิวหนัง
หรือหมากฝรั่ง เพื่อช่วยเลิกบุหรี่
ผลข้างเคียงหรือพิษ
ปริมาณที่ทำให้เกิดพิษเฉียบพลันคือ
60
mg ขึ้นไป
-
ผลต่อระบบประสารทส่วนกลาง
ทำให้หงุดหงิด กระสับกระส่าย มือสั่น
-
ผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ
ทำให้ปวดท้อง อุจจาระร่วง ใจสั่น หัวเต้นเร็ว
-
ผ่านรกได้และขับสู่น้ำนมทำให้เกิดพิษต่อทารก
อาการถอนยา ได้แก่ หงุดหงิด
อยู่นิ่งไม่ได้ กังวล ปวดท้อง ให้การรักษาโดยการใช้ nicotine
ชนิดแปะผิวหนังและเคี้ยวหมากฝรั่ง
อ้างอิง :
อาจารย์ นุชนาท ประมาคะเต ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
เอกสารประกอบการสอน รายวิชา เภสัชสำหรับการพยาบาล
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
blog มีความคิดสร้างสรรค์
ตอบลบ