วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง

บทนำระบบประสาทส่วนกลาง

  •   ระบบประสาทส่วนกลางประกอบด้วย สมอง(Brain)และไขสันหลัง(Spinal  cord)
  •   สารสื่อประสาท(neurotransmitter)ในระบบประสาทส่วนกลางที่พบมาก เช่น
-         Acetylcholine
-         สารพวกกรดอะมิโน เช่น gamma   aminobutyric acid(GABA),glycine,glutamate
-         สารพวก Amine เช่น cathecholamine(NE,dopamine)serotonin หรือ 5-HT และ histamine
-         สาร peptide เช่น opioids peptide
Receptor ที่มักพบในระบบประสาทส่วนกลางมี 2 ชนิด
1.       Inotropic rc.  เมื่อถูกกระตุ้นมีผลทำให้ไอออนต่างๆเช่น NA+,K+,Cl-,Ca2+ ไหลผ่านเข้าออกเซลล์ ตัวอย่างเช่น nicotic rc. , GABA rc. , glutamate rc.
2.       Metabrotopic rc. ทำงานเชื่อมกับ G protein แล้วทำให้มีการสังเคราะห์  secondary messenger หรือมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ ตัวอย่างเช่น muscarinic , adrenergic rc.

  •  สารสื่อประสาทชนิดกระตุ้น คือ สารที่จับกับ receptor แล้วทำให้เกิด depolarization ของเยื่อหุ้มเซลล์ เช่น aspartate , glutamate , histamine
  • ถ้าสารสื่อประสาทชนิดนั้นกระตุ้นทำให้เกิดการไหลของ NA+ , Ca2+ เข้าสู่เซลล์จะทำให้เกิด depolarization ของเยื่อหุ้มเซลล์
  • สารสื่อประสาททั้งที่เป็นกระตุ้นและยับยั้ง เช่น acetylcholine, NE, serotonin
  • ความแตกต่างระหว่างระบบประสาทส่วนกลาง(CNS) และระบบประสาทอัตโนมัติ(ANS)คือ
-         สารสื่อประสาทใน CNS มากกว่า ANS
-         มีจำนวน Synape ใน CNS มากกว่า
-         มีเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ในการยับยั้ง(หลั่งสารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง)มากกว่าใน CNS
      เพิ่มเติมระบบประสาทส่วนกลาง


วิดีโอระบบประสาทส่วนกลาง



ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง แบ่งได้ดังนี้


  1. ยานอนหลับและยาคลายกังวล (Sedative-hyptonic and anxioloytic drugs)
  2. ยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (CNS stimulants)
  3. ยาต้านพาร์กินสัน (Antiparkinsonism drugs)
  4. ยาต้านชัก (Antiepileptic drugs)
  5. ยาต้านโรคจิต (Antipsychotic drugs)
  6. ยาต้านไมเกรน (Antimigrain drugs)
  7. ยาชาและยาสลบ (Anesthetic agents)
  8. ยาแก้ปวด (Analgesics and antagonists)
อ้างอิง :
อาจารย์ นุชนาท ประมาคะเต   ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง  
เอกสารประกอบการสอน รายวิชา เภสัชสำหรับการพยาบาล  
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

1.ยานอนหลับและยาคลายกังวล

(Sedative-hyptonic and anxioloytic druges)


>>Sedative drugs =  ยาที่ทำให้ง่วง สลึมสะลือ หรือมีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอกน้อยลง
>>Hyptonic = ยาที่ทำให้หลับ
>>Anxiolytic drugs = ยาคลายกังวล
>>ความกังวล (anxietiy) = การตอบสนองเพื่อปรับกระตุ้นที่เป็นอันตราย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์

 ยากลุ่ม Benzodiasepine

   เป็นยาคลายกังวลที่นิยมใช้มากที่สุด มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพดี จำแนกตามการใช้
                -ยานอนหลับ(hyptonic) เช่น flurazepam, temazepam, trisopam
                -ยาคลายกังวล(anxiolytics) เช่น diazepam(valium), lorazepam, alprazolam
                -ยาต้านชัก(anticonvulsant) เช่น clonazepam(Rivotril)
                -ยาสลบ(anesthetic agent) เช่น midazolam(Dorrmicum)

กลไกการออกฤทธิ์

           Benzodiazepine จับกับ GABAA receptors ที่ตำแหน่ง α และϒ subnit  => ทำให้ GABA  จับกับ GABAA receptorsได้มากขึ้น     =>  Cl- ไหลเข้าเซลล์ประสาทมากขึ้น  เกิด Hyperpolarization หรือลดการเกิด Depolarization
ผลทางเภสัชวิทยา
              ลดความกังวลในขนาดยาที่ต่ำ  ทำให้ง่วง(sedation)และทำให้หลับ(hyptonic) ทำให้เกิดการลืมแบบชั่วคราว  มีฤทธิ์ทำให้หยุดชัก  คลายกล้ามเนื้อลาย

เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinatic)
-         ยาละลายในไขมันดี ดูดซึมเร็วโดยการกินและกระจายทั่วร่างกาย
-         ระยะเวลาการออกฤทธิ์ขึ้นกับ metabolism ที่ตับทำให้แบ่งยาออกเป็นแบบฤทธิ์สั้น ปานกลางและออกฤทธิ์นาน
-         ยาจับกับโปรตีนในพลาสมาได้ 90-99%
-         การได้ยาเป็นเวลานานไม่กระตุ้น P450
-         ยาถูกขับทางไต
-         ยาผ่านรกได้ ทำให้ทารกในครรภ์ได้รับยาและถูกขับออกทางน้ำนม

ประโยชน์ในการรักษา
-         ใช้รักษาโรคกังวล(anxiety disorder)
-         รักษาโรคนอนไม่หลับ(insomnia)
-         ใช้รักษาโรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง(muscle spasm)
-         ใช้ทำให้ลืม(anterograde amnesia)
-         ใช้รักษาโรคชัก(seizure disorder)
-         ใช้รักษาอาการขาดเหล้า(alcohol withdrawal)ใช้ diazepam ป้องกันการชักเนื่องจากการขาดเหล้า
ผลข้างเคียง
-         มึนศีรษะ สับสน
-         ทำให้หลงลืม การรับรู้ ความจำแย่ลง
-         การตัดสินใจ ทักษะการสั่งงานแย่ลง ไม่ควรขับยานพาหนะ
-         กดการหายใจและระบบหมุนเวียนเลือด
-         พิษต่อตับ ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคตับ
-         การใช้เป็นเวลานานแล้วหยุดยาเร็วทำให้เกิดอาการถอยยา(withdrawal symptom)
-         การใช้เป็นเวลานานทำให้เกิดการดื้อยา
       การพึ่งยา(dependence) โดยทั่วไปไม่ควรกินยานอนหลับติดต่อกัน 2-3 สัปดาห์  จะทำให้เกิดการพึ่งยาและถ้าหยุดยาเร็วอาจเกิดการขาดยา เช่น สับสน กังวล กระสับกระส่าย เครียด กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ และชักได้
      ปฏิกิริยาระหว่างยา เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย พิษจากการกินยาเกินขนาดไม่ทำให้เสียชีวิต ยกเว้นได้รับยากดประสาทร่วมกับตัวอื่น เช่น เหล้า


 ยากลุ่ม Barbiturates

    ยากลุ่มนี้ เช่น  amobarbital, pentobarbital, Phenobarbital, Thiopental

กลไกและผล
    จับกับ GABAA receptors ทำให้ receptors มีความสามารถในการจับกับ GABA และทำให้ Cl channels เปิดนานขึ้น
เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinatic)
-         ดูดซึมได้ดีโดยการกิน กระจายเข้าสมองและเนื้อเยื่อต่างๆได้ดี
-         ถูกทำลายที่ตับ
-         เมื่อใช้เป็นเวลานาน ยาสามารถกระตุ้น P450 ทำให้เพิ่มการทำลายยาและยังเพิ่มการทำลายยาอื่นด้วย
-         ส่วนมากถูกขับถ่ายทางปัสสาวะ
ประโยชน์ในการรักษา
-         มีการใช้น้อยลงไม่นิยมเป็นยานอนหลับหรือยาคลายกังวล เนื่องจากยาถูกแทนที่ด้วยกลุ่มยา benzodiazepine ที่มีความปลอดภัยกว่า
-         ใช้ thiopental ฉีดเข้าหลอดเลือดดำเพื่อเหนี่ยวนำให้สลบก่อนการผ่าตัด
-         ใช้ phenobarbitalb รักษาโรคชัก ออกฤทธิ์ยาว
อาการที่ไม่พึ่งประสงค์
-         ถ้าใช้ในการรักษาโรคนอนไม่หลับ จะทำให้ง่วงตอนกลางวันและมึนศีรษะหลังตื่นนอน
-         ถ้าใช้นอนจะเกิดอาการดื้อยา(tolerance) พึ่งยา(dependence)และมีอาการถอนยา(withdrawal syndrome) เมื่อหยุดยาเร็ว
-         การถอนยาทำให้เกิดอาการ เช่น กังวล ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
-         พิษจากยาเกินขนาดทำให้สลบ กดการหายใจ โคม่าและเสียชีวิตได้
-         ยาผ่านรกและขับสู่น้ำนมทำให้เกิดพิษต่อทารก
ข้อห้ามใช้
-         Acute intermittent Porphyria (เป็นโรคเลือดที่เกิดจากการผิดปกติของเลือดจากการที่ร่างกายขาด enzyme ที่ใช้ในการสร้างเม็ดเลือด ที่เรียกว่า “Heme” ซึ่งอาการของโรคจะแสดงออกมาสองลักษณะใหญ่ คือ ทางจิตและทางผิวหนังร่างกาย ชื่อ Porphyria มาจากภาษากรีซคำว่า porphyrus ซึ่งแปลว่า สีม่วง purple )
-         แพ้ยา
-         มีโรคตับหรือไต


     Ethanol


    จัดในกลุ่มยากดประสาท หรือ sedative-hyptonic ด้วย กลไกการออกฤทธิ์ยังไม่ทราบแน่ชัด

ผลทางเภสัชวิทยาในระยะสั้น
-         ระบบทางเดินอาหาร เพิ่มการหลั่งน้ำลายและกรด ระคายเคืองกระเพาะอาหารทำให้อาเจียน
-         ระบบต่อมไร้ท่อ ลดการหลั่ง vasopressin เพิ่มการหลั่ง ACTH,cortisol และ Epinephine
-         ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระยะแระหัวใจเต้นเร็วและความดันเลือดเพิ่มแต่ระยะหลังทำให้หัวใจเต้นช้าและแรงบีบตัวช้าลง ความดันเลือดต่ำ
-         ระบบไต เพิ่มการขับปัสสาวะ

ผลทางเภสัชในระยะยาว
-         ผลต่อสมองในระยะยาว ผู้ติดสุราเรื้อรังจะขาด thiamine(วิตามินบี1)ทำให้มีการเดินเซ สับสน กล้ามเนื้อการควบคุมการเคลื่อนไหวลูกตาผิดปกติ
ผลต่อระบบอื่นๆในระยะยาว
-         ลดการทำงานของตับและตับอ่อน อาจเกิดโรคตับอักเสบ(hepatitis)ตับแข็ง(cirrhosis)และตับอ่อนอักเสบ(pancreatitis)
-         ระคายเคืองทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาอาหารอักเสบและมีเลือดออก
-         ความดันเลือดสูง หัวใจโต
-         ผลต่อระบบเลือด ทำให้เกล็ดเลือดต่ำและเลือดออกง่าย
-         ผลต่อทารกในครรภ์ทำให้เกิด fetal alcohol syndrome มีผลทำให้ทารกปัญญาอ่อน เจริญเติบโตช้าในครรภ์

ประโยชน์ในการักษา
     ใช้ ethanol รักษาจาก methanol และ ethylene glycol เพราะ ethanol มีความสามารถในการจับกับเอนไซม์ alcohol dehydrogenase มากกว่า จึงทำให้เอนไซม์อิ่มตัว
      Delirium tremens (DT) คือกลุ่มอาการที่เกิดจาก ethanol เฉียบพลันรุนแรง ในผู้ที่ติดสุราเรื้อรังอาการเช่น มือสั่น กังวล กระวนกระวาย หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก

การรักษาอาการถอนเหล้า
     ใช้ Benzodiazepine ที่ออกฤทธิ์ยาว เช่น diazepam เพื่อลดอาการวุ้นวายและป้องกันการชัก และการใช้ยาต้านโรคจิต เช่น haloperidol เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าว
     นอกจากนี้ยังมียานอนหลับและยาคลายกังวลอื่นๆที่ใช้นำมาในทางคลินิก เช่น
-         Chloral hydrate เป็น prodrug (ยังไม่ออกฤทธิ์) แต่เมื่อผ่านเมตาบอลิซึมที่ตับ จะได้สารที่ออกฤทธิ์ คือ trichloroethanol ใช้ในการทำให้เด็กหลับก่อนทำหัตการ
-         Antihistamine เช่น chlopheniramine ผลข้างเคียงที่ทำให้ง่วงใช้เป็นยานอนหลับได้
-         Propranodol ใช้เพื่อลดการตอบสนองทางสรีรวิทยา (เช่น ลดอัตราการเต้นของหัวใจ) ต่อคววามกังวลในเหตุการณ์เฉพาะอย่างที่ตื่นเต้น



อ้างอิง :
อาจารย์ นุชนาท ประมาคะเต   ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง  
เอกสารประกอบการสอน รายวิชา เภสัชสำหรับการพยาบาล  
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย